10 good rapport building questions

“10 คำถามชวนคุยที่จะทำให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานได้”          ในบทความสุดท้ายนี้เป็นบทความที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ที่เราไม่รู้ว่าจะพูดอะไรไม่รู้ว่าจะทักทายอะไร นอกเหนือจากคำว่า Hi, Hay, Good Morning, How are you. เป็นต้น ขอนำเสนอ 10 คำถามให้กับเหล่า HR ทุกท่านนำไปใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ เช่น How do you feel today? What tasks energize you? Can I help you with anything? How do you recharge after work? Do you have any exciting plans this weekend? What can I do to […]

5 tips to build rapport

“5 Tips ของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการสร้างความประทับใจกับเพื่อนร่วมงานมีอะไรกันบ้าง”          ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน ติดตามในบทความดี ๆ นี้ได้เลยนะคะ           1 Speaking with a smile การเริ่มพูดด้วยรอยยิ้มและการสบตาที่จริงใจ โดยให้กลับมาที่ภาษากาย Body language ยิ้มด้วยมุมปากเล็กน้อย พร้อมที่จะช่วยให้เราสื่อสารกับคนอื่นอย่างเป็นมิตรได้ง่าย           2 Be friendly การสร้างมิตรภาพที่ดีด้วยการทักทาย เช่น Hi, Hay, Good Morning, How are you, How are you today, How was your weekend? หรือเราสามารถที่จะเตรียมประโยคที่จะสื่อสารไว้ได้ อย่างเช่น การมาทำงานในวันจันทร์อาจจะกล่าวทักทายเพื่อนว่า Hi Good Morning How was your weekend? วันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาไปทำอะไรมาบ้าง หรือกลางสัปดาห์อาจจะกล่าวทักทายเพื่อนว่า Are you […]

Tone of voice

จากบทความการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพคืออะไร ของ Dr. Albert Mehrabian (1967) พบว่าการสื่อสารด้วยน้ำเสียง (Tone of voice) เป็นการแสดงออกถึงอารมณ์ที่มาจากน้ำเสียง การใช้เสียง ไม่ว่าจะเป็นการทอดเสียงเร็วช้า การพูดเร็วสั้น กระชับ การทำเสียงสูงต่ำ การยืดระยะเสียง เป็นสไตล์ที่เราสามารถที่จะเรียนรู้และฝึกได้จากการที่ฟังคนพูดภาษาอังกฤษเยอะ ๆ           อยากที่จะลองเชิญชวนนัก HR ได้ลองฝึก Tone of voice ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่จะต้องได้ใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารกับเพื่อร่วมงานที่เป็นชาวต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น

Body language

“สิ่งที่สำคัญที่สุดของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพคืออะไร”           จากงานวิจัยของ Dr. Albert Mehrabian (1967) ที่ได้ทำการศึกษาเรื่องของการสื่อสารของมนุษย์ โดยเฉพาะการสื่อสารที่เป็นแบบ face to face comunication ซึ่งได้มีการแบ่งหมวดหมู่ของการสื่อสารไว้ 3หมวดหลัก ๆ ที่เรียกว่า Mehrabian Model ที่ให้ค่าน้ำหนักแตกต่างกันในแต่ละส่วน           ส่วนที่หนึ่ง การสื่อสารด้วยภาษากาย (Body language) คิดเป็น 55%           ส่วนที่สอง การสื่อสารด้วยน้ำเสียง (Tone of voice) คิดเป็น 38%           ส่วนที่สาม การสื่อสารด้วยคำพูด (Words) คิดเป็น 7%           โดยจะเห็นได้ว่าการสื่อสารที่สำคัญที่สุด คือ การสื่อสารภาษากาย หรือ (Body language) ถึงแม้ว่าเราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ไม่รู้คำศัพท์ เรียงประโยคไม่ถูกก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ส่วนการสื่อสารที่รองลงมาคือน้ำเสียง หรือ (Tone of […]

Language learning habits

          ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการสร้างการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ จาก 8 ลักษณะนิสัยของคนที่พูดภาษาอังกฤษคล่องแคล่วที่เราสามารถหยิบยกลักษณะนิสัยมา 1-2 อย่างได้ เพื่อให้ตนเองได้ลองฝึกว่าตนเองอยากที่จะฝึกในลักษณะนิสัยใดได้บ้าง แต่มีสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจสำหรับการฝึกภาษาอังกฤษ คือ การที่เราฝึกทักษะอะไรก็ตามใหม่ ๆ เพียง 1% ทุก ๆ วันผ่านไป 365 วันหรือหนึ่งปี ตัวเราเองจะเก่งขึ้นได้ถึง 38% จะเห็นได้ว่าการฝึกภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องการแก้โจทย์สมการเหมือนวิชาคณิตศาสตร์ แต่คือเรื่องของการฝึกประสบการณ์และการมีคำคลังศัพท์ ประสบการณ์เสียงจากการฟังที่ให้ตนเองฝึกทีละเล็กทีละน้อย ๆ แต่ควรที่จะต้องฝึกบ่อย ๆ เมื่อเรารู้แล้วว่าฝึกวันละเพียง 1% หรือแม้แต่พูดภาษาอังกฤษแค่วันละหนึ่งประโยคผ่านไปหนึ่งปีจะทำให้เราจะเก่งขึ้นถึง 37  เท่า           การวางแผนการเรียนภาษาอังกฤษที่ดี คือ เราต้องกำหนดเวลาเรียนให้ชัดเจนที่เราจะสามารถทำได้ทุกวันอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งหรือมากกว่านั้นก็ได้ หรือให้เราผูกการฝึกภาษาอังกฤษกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรา ยกตัวอย่างเช่น           โดยจุดเริ่มต้นในการฝึกษาภาษาอังกฤษเราควรที่จะเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเราเรียกว่าเป็นการตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ในการฝึกภาษาอังกฤษ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีแรงกระตุ้นในการฝึกภาษาอังกฤษมากขึ้นและสำหรับนัก HR ซึ่งเป็นคนทำงานที่มีเวลาจำกัดในแต่ละวันสามารถนำภาษาอังกฤษเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสำหรับตนเองได้ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น และเป็นตัวอย่างให้นัก HR […]

8 Habits to fluent in english

“8 ลักษณะนิสัยของคนที่พูดภาษาอังกฤษได้อย่างน่าประทับใจของคนไทยมีอะไรกันบ้าง” เชิญชวนผู้อ่านทุกท่านติดตามในบทความนี้ได้เลยคะ           โดยในลักษณะนิสัยของคนไทยที่จะพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว มีดังนี้           การหาโอกาสในการใช้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งภาษาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่จะต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ และการฝึกพูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติในทุก ๆ วัน ให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 10%, 20%

4 Learning styles

“การเป็นนัก HR ที่ดี ควรที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?”      ในบทความนี้ เป็นบทความที่จะกล่าวถึงการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างไรให้มีประสิทธิภาพหรือที่เราเรียกว่า VARK ซึ่งจะมี 4 รูปแบบในการเรียนรู้ ตามลักษณะนิสัยพื้นฐานการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล โดยแบ่งออกได้ ดังนี้      จาก 4 รูปแบบในการเรียนรู้เราจะพบว่าเมื่อเราทราบถึงสไตล์การเรียนรู้ของตนเอง      แล้วก็จะทำให้เราได้พบถึงการฝึกภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้นนั้นเองว่าเราจะต้องใช้รูปแบบการฝึกแบบใด เพื่อที่จะให้เราจำได้และก็เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้ก็จะติดตัวเราไปตลอด และที่สำคัญสไตล์การเรียนรู้ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ทั้ง 4 รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกันได้เสมอ

Enhancing English self-learning

 “วิธีการจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือทักษะภาษาอังกฤษได้ด้วยตัวเอง”           จากบันได 5 ขั้นที่กล่าวมาข้างต้นขอสรุปทริคง่าย ๆ สำหรับผู้ที่อยากจะเรียนภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จด้วยรูปแบบที่ว่า ค้นหาวิธีที่ถูกต้อง รู้ว่าตนเองเป็นใคร ตนเองควรเรียนภาษาอังกฤษด้วยวิธีใดบ้างถึงจะถูกจริตกับตนเอง สิ่งสำคัญที่สุดก็คือผู้เรียนแต่ละคนจะต้องหาจังหวะของตนเอง มีลู่วิ่งเป็นของตนเองและฝึกภาษาอังกฤษให้กับตนเองในทุก ๆ วันอย่างน้อยวันละ 5 นาที ส่งผลทำให้เรารู้สึกว่าการเรียนภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องยากและลำบาก และทำให้เราสามารถทบทวนย่อยข้อมูลความรู้ได้ง่ายขึ้น และสิ่งที่สำคัญ คือ การบันทึกความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเองไม่ว่าจะด้วยวิธีการฟัง หรือการทำแบบฝึกหัด รวมถึงการทวนซ้ำในสิ่งที่ตนเองบันทึกไว้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงเส้นชัยในการเรียนภาษาอังกฤษได้ คือ ในระหว่างทางต้องมีตัวชี้วัดความก้าวหน้าของตนเอง ซึ่งตัวชี้วัดนี้นัก HR อาจารย์ หรือผู้ที่ออกแบบหลักสูตร รวมถึงผู้เรียนสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการจัดหาตัวชี้วัดที่เหมาะสมร่วมกันได้ ทำให้ผู้เรียนนั้นเรียนอย่างมีเป้าหมายและก็ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เมื่อไหร่ที่ต้องใช้งานจริง ให้เน้นความลื่นไหล ความเป็นธรรมชาติที่สื่อสารโต้ตอบได้โดยไม่ต้องมี Dead air และสิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่าการพูดการสื่อสารนี้สามารถแก้ไขและสามารถทำความเข้าใจใหม่ได้เสมอไม่ว่าเราจะทำผิด ทำพลาดอะไร เราสามารถแก้ไขได้เสมอนั้นเอง

The Alive! Approach

          จากวิธีการ 5 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดควรจะสื่อสารให้กับพนักงานทุกคนที่เข้ารับการอบรมว่าการพูดภาษาอังกฤษได้นั้น เป็นทักษะ (Skills) หนึ่งของการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ถ้ามีการฝึกเป็นขั้นเป็นตอน ทำซ้ำจนชำนาญก็จะสามารถพูดได้แบบไม่ต้องคิดแต่เป็นไปโดยอัตโนมัติ           นอกเหนือจากวิธีการที่ครูตั๊กกล่าวมาข้างต้นแล้ว ในบทความถัดไปครูตั๊กอยากที่จะนำเสนอถึงวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนที่สามารถพูดภาษาอังกฤษและใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีความสุข และมีประสบการณ์ที่ดีสามารถนำไปใช้ได้จริงนั้นเป็นอย่างไรนั้น ขอเชิญชวนทุกท่านติดตามอ่านในบทความถัดไปได้เลยค่ะ