ในบทความที่ 2 นี้ ขอเสนอคำว่า “The Alive! Approach” ของการจัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับพนักงานในองค์กรนั้นเอง โดย “The Alive! Approach” มีวิธีการทั้งหมด 5 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วยActive ครูและผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์กัน มีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเน้นการลงมือทำ ปฏิบัติจริง
- ซึ่งครูต้องเริ่มจากการทำให้ดู จากนั้นทำด้วยกัน และจบด้วยการที่ผู้เรียนได้ลงมือทำเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือทำอย่างถูกต้องและได้รับ Feedback จากครู หรือผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้ฝึกประสบการณ์จนทำได้จริง
- Life-longe Learing การสอนวิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนตั้งแต่เริ่มต้นที่จะเรียน เพื่อให้รู้วิธีเรียนภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมาย และรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ ย่อมอยากที่จะนำเครื่องมือไปใช้ในการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ มากขึ้น และเกิดความมั่นใจในการอยากจะเรียนและนำภาษาอังกฤษไปใช้
- Integration การนำเครื่องมือหลากหลายไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเหมาะสมต่อบุคลากรในองค์กรมากที่สุด มีการออกแบบหลักสูตร และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ขององค์กร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีทีมครูที่มีความรู้ประสบการณ์ และนัก HRD ช่วยกันวางแผนอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งต้องสามารถปรับตัวได้ตลอดเวลาเมื่อมีการจัดอบรมให้กับผู้เรียน ฟังความต้องการของผู้เรียนส่งผลทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมากขึ้น และผู้เรียนสามารถให้ Feedback ที่นัก HR นำไปทำงานต่อได้ง่ายขึ้น
- Valuable ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าตนเองมีคุณค่า มีความสามารถมากพอที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษและรู้ว่าภาษาอังกฤษทำให้ตัวเองมีความก้าวหน้าไม่ว่าจะเป็นทางด้านการทำงานหรือการสื่อสารด้านอื่น ๆ
จะส่งผลดีทั้งกับต่อตนเองและต่อองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าคุณค่าที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ หลักสูตรต้องมีคุณภาพและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต - Experience การมีประสบการณ์ของผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษมาก่อนในเบื้องต้นนั้นไม่ค่อยดี
นัก HRD จะต้องทำอย่างไรให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมในการเรียนภาษาอังกฤษในรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพิ่มให้มากขึ้น และที่สำคัญ คือ การเปิดใจในการเรียนรู้พร้อมรับสิ่งใหม่ ๆ ในการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน (Enjoyable) สอดคล้องกับความต้องการและลักษณะนิสัยของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้สึกว่าการฝึกภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องที่ยากและไม่ใช่เรื่องที่กดดัน
จากวิธีการ 5 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดควรจะสื่อสารให้กับพนักงานทุกคนที่เข้ารับการอบรมว่าการพูดภาษาอังกฤษได้นั้น เป็นทักษะ (Skills) หนึ่งของการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ถ้ามีการฝึกเป็นขั้นเป็นตอน ทำซ้ำจนชำนาญก็จะสามารถพูดได้แบบไม่ต้องคิดแต่เป็นไปโดยอัตโนมัติ
นอกเหนือจากวิธีการที่ครูตั๊กกล่าวมาข้างต้นแล้ว ในบทความถัดไปครูตั๊กอยากที่จะนำเสนอถึงวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนที่สามารถพูดภาษาอังกฤษและใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีความสุข และมีประสบการณ์ที่ดีสามารถนำไปใช้ได้จริงนั้นเป็นอย่างไรนั้น ขอเชิญชวนทุกท่านติดตามอ่านในบทความถัดไปได้เลยค่ะ