English Problems and Solutions

“ทำไมการจัดอบรมภาษาอังกฤษจึงมีความท้าทายเกิดขึ้นในวงการ HRD”

          จากประสบการณ์ทำงานของครูตั๊กเองก็จะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมการจัดอบรมภาษาอังกฤษจึงมีความท้าทายเกิดขึ้นในวงการ HRD เพราะความท้าทายที่ว่าเกิดจากปัญหาการจัดอบรมภาษาอังกฤษในองค์กร (English problems and solutions) ที่พนักงานส่วนใหญ่ 1.) กลัวการเข้าอบรม เพราะอาจจะมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับภาษาอังกฤษหรือแม้แต่ไม่มีความคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษและรู้สึกว่าภาษาอังกฤษนั้นยาก
2.) พนักงานเข้าอบรมไม่ครบ เพราะเกิดจากการขาด การลา การมาสาย หรือการป่วย 3.) ผลประเมินการจัดอบรมต่ำ เนื่องจากไม่เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร 4.) ขาดแผนพัฒนาต่อเนื่อง เพราะงบประมาณมีจำกัดก็อาจจะทำให้ต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาด้านอื่น ๆ ทำให้การอบรมเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง

          แต่ชวนตั้งคำถามสำหรับนัก HRD ทุกคนว่าเมื่อผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังขององค์กร นัก HRD จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร

          ครูตั๊กจึงคิดวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ที่นัก HRD ทุกคนจะต้องพบเจอก็คือ 1.) การออกแบบหลักสูตรเฉพาะองค์กร เป็นไปไม่ได้เลยที่หนึ่งหลักสูตรหรือครูหนึ่งคนจะสามารถสอนได้เก่ง ครอบคลุมทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้น และใช้เครื่องมือเดียวในการจัดอบรมได้ เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการที่แตกต่างหลากหลาย ฉะนั้น ควรที่จะจัดห้องเรียนให้เป็นแบบผสมผสาน (Blended Learning) ทั้งการจัด Workshop ระยะสั้นแล้วค่อยไปในหลักสูตรระยะยาว โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านวิดีโอ (Vido self-learning) ประกอบจึงทำให้การอบรมได้ผลลัพธ์ตามต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เน้นการลงมือปฏิบัติจริงและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริง 2.) รูปแบบการเรียนรู้ แตกต่างและสร้างสรรค์ โดยเน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียนและสร้างทัศนคติที่ดี ผ่านประสบการณ์ฝึกภาษาอังกฤษเชิงบวก สิ่งที่สำคัญ คือ สอนวิธีการเรียนรู้ (How) ตั้งจุดมุ่งหมาย (Why) เรียนรู้ต่อยอดได้ด้วยตนเองและสื่อสารแบบมืออาชีพ รวมถึงการได้รับ Feedback จากอาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
3.) ดำเนินการโดย ทีมงานมืออาชีพ โดยมีวิทยากรแนวใหม่ สอนเข้าใจง่าย ไม่กดดัน มีโค้ชในการเรียนภาษาที่แนะนำการฝึกภาษาอังกฤษ รวมถึงมีนักทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดอบรมภาษาอังกฤษโดยตรงมาให้คำปรึกษาหรือมาออกแบบหลักสูตรร่วมกัน สิ่งเหล่านี้เมื่อมีการวางแผนในระยะยาว 1-3 ปี หรือ 5 ปีก็จะทำให้เห็นกระบวนการว่าองค์กรจะพัฒนาพนักงานไปในทิศทางใดเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร

          นอกเหนือจากวิธีการที่ครูตั๊กกล่าวมาข้างต้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ครูตั๊กอยากจะมานำเสนอก็คือคำว่า
The Alive! Approach จึงอยากที่จะเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านติดตามในบทความถัดไปนะคะ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor

หมวดหมู่
Uncategorized