5 tips to build rapport

“5 Tips ของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการสร้างความประทับใจกับเพื่อนร่วมงานมีอะไรกันบ้าง”
          ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน ติดตามในบทความดี ๆ นี้ได้เลยนะคะ

          1 Speaking with a smile การเริ่มพูดด้วยรอยยิ้มและการสบตาที่จริงใจ โดยให้กลับมาที่ภาษากาย Body language ยิ้มด้วยมุมปากเล็กน้อย พร้อมที่จะช่วยให้เราสื่อสารกับคนอื่นอย่างเป็นมิตรได้ง่าย

          2 Be friendly การสร้างมิตรภาพที่ดีด้วยการทักทาย เช่น Hi, Hay, Good Morning, How are you, How are you today, How was your weekend? หรือเราสามารถที่จะเตรียมประโยคที่จะสื่อสารไว้ได้ อย่างเช่น การมาทำงานในวันจันทร์อาจจะกล่าวทักทายเพื่อนว่า Hi Good Morning How was your weekend? วันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาไปทำอะไรมาบ้าง หรือกลางสัปดาห์อาจจะกล่าวทักทายเพื่อนว่า Are you busy to day? วันนี้คุณยุ่งไหม? เป็นต้น เพื่อที่จะชวนเพื่อน ๆ พูดคุยในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสบายใจในชีวิตประจำวัน

          3 Remain Respectful การรู้จักเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น โดยถามเรื่องทั่ว ๆ ไปกับเพื่อนชาวต่างชาติได้ เช่น วันนี้ทำงานเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรให้ช่วยเหลือหรือไม่ ชอบดูหนังอะไร ชอบฟังเพลงอะไร ชอบอ่านหนังสืออะไร และชอบไปเที่ยวที่ไหนเหล่านี้ เป็นต้น แต่ไม่ควรที่จะถามเรื่องอายุ เพศ ความสัมพันธ์ว่ามีแฟนแล้วหรือยัง เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและเป็นมารยาทที่ไม่ควรถามสำหรับชาวต่างชาติ หรือถ้านัก HR มีความจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องสอบถามจะต้องขออนุญาตจากเพื่อนคนนั้นก่อนเสมอ ถ้าเพื่อนไม่สะดวกใจที่จะตอบก็ไม่เป็นไร แต่ในฐานะนัก HR ที่ดีควรที่จะขออนุญาตในการสอบถามข้อมูลส่วนตัวของเพื่อนชาวต่างชาติก่อนเสมอ

          4 Convery empathy การสื่อสารที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ อย่างเช่น ฉันเข้าใจสถานการณ์ของคุณ (I understand your situation.) ฉันเสียใจที่ได้ยินอย่างนั้น (I am sorry to hear that.) เป็นต้น

          5 Listen intently การรับฟังอย่างตั้งใจ นัก HR ในฐานะการเป็นผู้ฟังที่ดีจะต้องรู้จักมองตา หยักหน้า ในเวลาขณะที่รับฟังว่าผู้พูดกำลังสื่อสารอะไร อาจจะฟังออกบ้างหรือไม่ออกบ้างก็ตาม แต่ก็ควรแสดงความสนใจต่อผู้พูด

ทริคเล็ก ๆ สำหรับเหล่า HR เมื่อมีการรับฟังแล้วเกิดความไม่เข้าใจขึ้นควรที่จะต้องทำอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น

          1.) ถ้าเมื่อไหร่ที่เราฟังแล้วหลุดโฟกัส ฟังไม่เข้าใจ ตามไม่ทัน ให้เรา Interrupt ก่อนด้วยคำว่า Sorry ขอขัดจังหวะนิดนึง Did you mean that x… เราก็จะต้องมา Recap ว่าเราเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ เป็นการทวนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

          2.) ฉันไม่แน่ใจว่าเข้าใจสิ่งที่พูดถึงหรือไม่เกี่ยวกับ… (I am not sure if I understood what you were saying about…) และอีกประโยคหนึ่งที่น่าสนใจในการรับฟังข้อเสนอแนะ

          3.) อยากที่จะรับฟังข้อเสนอแนะของฉันไหม (Would you like to hear my suggestion?) เป็นประโยคที่นำมาฝากกับเหล่า HR ทุกท่านให้ลองนำไปใช้และสามารถนำไปฝึกได้เพียงวันละหนึ่งประโยคให้กับตนเอง

Open windows to the world, unlock doors to opportunities !
เปิดโอกาสใหม่ สู่ความสำเร็จที่ดีกว่า

หมวดหมู่
Effective Communication
English Solutions
English Workshop
Learn How to Learn